คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เทคโนโลยีไฮไลท์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานในโลกดิจิตอล

ใส่ความเห็น


ด้วยความที่คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ ขององค์กรทั้งในเรื่องของการลงทุนด้านเทคโนโลยี เรื่องประสิทธิภาพการใช้งานระบบ และรวมถึงเรื่องของการตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่สามาาถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา กอปรกับความรู้ความเข้าในของผู้ใช้งานที่มีต่อคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีเพิ่มมากขึ้นและให้ความไว้วางใจในระบบนี้มากขึ้น จึงทำให้คลาวด์คอมพิวติ้งยังคงเป็นเทคโนโลยีไฮไลท์ในปีนี้ในภูมิภาคนี้และในประเทศไทย

บริษัทวิจัยไอดีซี (International Data Corporation) ได้คาดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่นจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ  ทำให้ธุรกิจการให้บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 และจะมีการเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด โดยผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554 ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน   ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ  ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ

แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจลงทุนเทคโนโลยีนี้อีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้

ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะ เปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย

คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด
ในปีนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมผนึกกำลังกับยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์เพื่อขับเคลื่อนให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เกิด

ขึ้นอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นความเคลื่อนไหวของยักษ์โทรคมนาคม บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (สิงเทล) จับมือวีเอ็มแวร์ เปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์แบบออนดีมานด์ SingTel PowerON Compute ที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ VMware vCloud Datacenter Service ช่วยลูกค้าองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นการประมวลผลไฮบริด คลาวด์ ( Hybrid Cloud ) ระดับองค์กรจะช่วยให้ลูกค้าสามารถอัพเกรดทรัพยากรไอที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากหรือรับมือกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดซื้อและจัดการเซิร์ฟเวอร์และ ระบบต่างๆ เพิ่มเติม และดังนั้นจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์บริษัทต่างๆ จะสามารถขยายทรัพยากรของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบส่วนตัวที่มีอยู่ไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะได้อย่างไร้รอยต่อ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นอีกครั้ง นั่นหมายความว่าลูกค้าจะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งแบบออนดีมานด์บนระบบสาธารณะโดยเสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือความร่วมมือระหว่าง 2 ผู้นำทางด้านไอที บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเสนอบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสู่องค์กรธุรกิจไทยด้วยบริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร ด้วยดิจิตัลคอนเทนท์ โฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ อีเมล เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน

ความร่วมมือระหว่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ การผนึกกำลังดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยยกระดับไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานของผู้ใช้งานชาวไทยไปสู่การใช้งานทางธุรกิจได้

คาดว่าภายในปีนี้จะได้เห็นรูปแบบความร่วมมือในลักษณะนี้ที่ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อนำเสนอบริการการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

คลาวด์ คอมพิวติ้ง: พลิกรูปแบบกบริการซอฟต์แวร์กับโอกาสของ SME ไทย

ใส่ความเห็น

คงไม่ปฏิเสธว่าในบรรดาผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอซีที มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจอย่างเต็มที่มากนัก ทั้งนี้ เหตุผลหลักประการหนึ่งก็คือ ข้อจำกัดเรื่องเงินทุน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาหากบริษัทใดต้องการใช้ระบบไอทีนั้นจะต้องลงทุนซื้อระบบมาติดตั้งเองทั้งหมด ข้อจำกัดนี้กำลงถูกทำลายลงโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งนั้นเกิดจากแนวคิดของการนำระบบซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ไว้ที่เครื่องแม่ข่ายกลาง จากนั้นก็อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้ามาในระบบเพื่อใช้งานระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากที่บริษัทของตน ซึ่งคลาวด์ คอมพิวติ้ง ยิ่งเป็นที่สนใจอย่างมากในแวดวงธุรกิจทั่วโลกในปีที่ผ่านมา เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจที่ต้องการใช้งานระบบไอทีได้มีทางเลือกในการเช่าใช้ระบบแทนที่จะต้องลงทุนซื้อระบบ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

นอกจากนี้ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ยังช่วยให้ผู้ประกอบการที่แม้จะไม่เคยมีระบบไอทีใช้มาก่อนเลยก็สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบไอทีได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมี มีเพียงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าไปสู่ระบบแอพพลิเคชั่นของตนที่ฝากไว้บนคลาวด์ คอมพิวติ้งเท่านั้น

และหลังจากเริ่มต้นใช้งานแล้ว คลาวด์ คอมพิวติ้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจไปตามปกติ โดยมีระบบไอทีเป็นตัวช่วยหลักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเท่านั้น แต่ผู้ใช้ยังไม่ต้องกังวลถึงภาระค่าดูแลระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และการอัพเกรดระบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะเรื่องเหล่านี้จะถูกยกให้เป็นภาระของผู้ให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing Services) ซึ่งรายละเอียดของบริการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับความต้องการใช้งานผู้ใช้ว่าต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ระบบใดบ้าง

ทั้งนี้ ด้วยบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการให้บริการแบบเช่าใช้ระบบซอฟต์แวร์ ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเลือกใช้บริการเฉพาะระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนกับการประกอบธุรกิจของตน เป็นรายประเภทและรายโมดุลของซอฟต์แวร์ไป ค่าใช้บริการก็จะแปรผันตามประเภทและปริมาณของระบบซอฟต์แวร์ที่เช่าใช้ คือใช้เท่าไหนจ่ายเท่านั้น (Pay per Use) โดยผู้ใช้จะต้องชำระค่าใช้บริการซอฟต์แวร์แบบรายเดือน หรือรายปี

เมื่อลักษณะการให้บริการใช้ระบบซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์มของคลาวด์ คอมพิวติ้งเป็นดังนี้ ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดควบคู่กันกับ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ก็คือรูปแบบบริการซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่ไม่ใช่การขายขาด แต่เป็นการให้เช่าใช้ซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกกันว่า Software as a Service (SaaS) ซึ่งตามโมเดลนี้ซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนจาก “สินค้า” ที่ต้องถูกซื้อ เป็น “บริการ” ที่ต้องจ่ายค่าใช้บริการตามที่ใช้งานจริง SaaS เป็นรูปแบบธุรกิจการให้บริการซอฟต์แวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งทั้ง SaaS และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นั้นส่งผลดีต่อทั้งผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นโมดูลๆ (Module By Module) เพื่อให้บริการลูกค้าเฉพาะบางโมดูลได้ โดยที่ไม่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในขณะที่ผู้ใช้บริการก็สามารถเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์โมดูลที่ตัวเองต้องการโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ทั้งระบบ ที่สำคัญลูกค้าไม่ต้อง “ซื้อ” แต่เปลี่ยนมาจ่าย “ค่าเช่าใช้” ซอฟต์แวร์โมดูลที่ตนเองใช้งานเท่านั้น

ปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จำนวนมากเริ่มให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ให้กับลูกค้าในประเทศไทย อาทิ ออราเคิล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) และซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากหันมาให้บริการระบบซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าผ่านรูปแบบ SaaS มากขึ้น

ทั้งหมดทั้งมวลนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ธุรกิจไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่จะสามารถเข้าถึงระบบไอทีขนาดใหญ่และระบบซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นต้องใช้งานได้ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง เชื่อแน่ว่าในปีนี้จะมีการขยายตัวของบริการคลาวด์ คอมพิวติ้งและ SaaS อย่างมาก และอานิสงค์ของการเติบโตดังกล่าวจะตกเป็นของเอสเอ็มอีไทยนั่นเอง…

“Cloud Computing” เทคโนโลยีอนาคต…..สำหรับ SME วันนี้!

ใส่ความเห็น

อาจกล่าวได้ว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี Cloud Computing ในประเทศไทยที่คาดกันว่าจะเริ่มมีการพูดถึงละใช้งานแพร่หลายมากขึ้นอย่างมาก ในปีนี้นั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นแต่ Cloud Computing จะลงไปให้บริการกับองค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ซึ่งนับเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ให้บริการหลายราย จึงเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยเอื้อให้ SME สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ธุรกิจต่างๆ ได้อย่างเต็มที่โดยใช้เงินลงทุนน้อยลง

ทั้งนี้โครงสร้างทางเทคโนโลยีของ Cloud Computing ที่เป็น “ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” เป็นวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

องค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น ผู้ใช้มีเพียงอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้บริการต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นธุรกิจสำหรับกิจการตั้งแต่ขนาด เล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ รูปแบบบริการจะถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานแบบแยกชิ้น คือผู้ใช้สามารถเลือกใช้ประเภทบริการและจำนวนแอพพลิเคชั่นตามความต้องการใช้ งานจริง โดยเสียจ่ายใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานและจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้

Cloud Computing ทางเลือกสำหรับ SME ใช้ไอทีเสริมแกร่ง

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มทางธุรกิจกับการเติบโตของ Cloud Computing นั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จากผลการวิจัยล่าสุด ไอบีเอ็มคาดว่า Cloud Computing จะถูกใช้งานเพิ่มมากขึ้นและมีบทบาทอย่างมากในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยเทคโนโลยีนี้ทรัพยากรทางด้านไอทีจะถูกผนวกรวมศูนย์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และช่วยให้องค์กรเพิ่มหรือลดขนาดของระบบไอทีได้ตามต้องการ

ทั้งนี้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Cloud Computing คือให้พลังการประมวลผลสมรรถนะสูงกว่าแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะ Cloud Computing ช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนให้กับระบบไอทีทั้งหมด เนื่องจากองค์กรอาจใช้บริการจาก Cloud Computing ที่ถูกโฮสต์ไว้ภายนอกและซื้อใช้ในรูปแบบของบริการแทนที่จะต้องลงทุนซื้อ ซอฟท์แวร์มาใช้เอง ซึ่งวิธีการดังกล่าวถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและมีพนักงานฝ่ายเทคนิคอยู่อย่างจำกัด

Google Apps: บริการยอดฮิตบน Cloud Computing

สำหรับธุรกิจ SME นั้น ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่ให้บริการเป็นภาษาไทยบน Cloud Computing แล้วหลายบริการจากผู้ให้บริการหลายรายไม่ว่าจะเป็น Google Apps จาก Google Inc. โดยความร่วมมือกับ Saleforce.com และล่าสุดบริการ Software Plus Service จากไมโครซอฟท์เตรียมเปิดบริการสำหรับลูกค้าในประเทศไทยในเร็วๆ นี้ด้วยเช่นกัน

Google Apps คือ ตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ที่รวมแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ Search Engine, G-mail, Picasa, Google Video, Google Doc, Google Calendar, YouTube, Google Maps, Google Reader และ Blogger เป็นต้น

บริการ Google Apps คือชุดผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งบนเว็บ เพื่อการสื่อสารและช่วยในการทำงานร่วมกันที่พร้อมรองรับภาษาไทย โดยเป็นชุดแอพลิเคชันที่ติดตั้งบนเว็บ เช่น Google Talk อีเมล์ (G-mail) ภายใต้ชื่อโดเมนของผู้ใช้งานเอง เช่น yourname@yourdomain.com This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it ปฎิทิน (Google Calendar) และเอกสาร (Google Documents) เพื่อช่วยองค์กรต่างๆ ที่ต้องการชุดเครื่องมือด้านการสื่อสารคุณภาพสูงสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยไม่ต้องซื้อ ติดตั้ง หรือคอยบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้ยุ่งยาก ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลของตนได้เองทั้งหมดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริการต่างๆ จะถูกโฮสต์ไว้ที่ Google โดยผู้ใช้ที่ได้รับการตั้งค่าจากผู้ดูแลระบบ เพียงแค่เข้าไปที่หน้าล็อกอิน (Login) ผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ก็เข้าใช้งานระบบได้ทันที อีกทั้งบริการต่างๆ ยังออกแบบมาให้รองรับปริมาณผู้ใช้ และพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมากได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาระบบได้อย่างมหาศาล

ทั้งนี้ Google Apps มีบริการให้เลือก อาทิ Google Apps Standard Edition บริการฟรีสำหรับธุรกิจ กลุ่มชมรมและองค์กร หรือแม้แต่นำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว โดยนำ Google Apps มาใช้กับโดเมน และ Google Apps Premier Edition ที่คิดค่าบริการ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี สำหรับผู้ใช้แต่ละคน โดยตัวระบบได้ออกแบบมาให้มีความสามารถมากขึ้น ทั้งด้านการติดตั้ง การบูรณาการระบบ และการจัดเก็บข้อมูล เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท มีบริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ ให้พื้นที่สำหรับจัดเก็บอีเมล์สูงถึง 10 กิกะไบต์ และมี API พร้อมสำหรับเชื่อมต่อ นอกจากนี้ยังมี Google Apps Education Edition: ใช้งานฟรีสำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา พร้อมด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ครบถ้วนทั้งด้านการช่วยเหลือ การจัดเก็บข้อมูล และ API สำหรับงานพัฒนาต่อยอด โดยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ Google Apps ในประเทศไทยแล้วนับร้อยราย

ไมโครซอฟท์เตรียมส่งบริการบน Cloud Computing ลงตลาดไทยครึ่งปีหลัง

ทั้งนี้ ลักษณะบริการ Cloud Computing ไม่เพียงจะเป็นคู่แข่งสำคัญต่อไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่อื่นๆ เช่น ออราเคิล และเอสเอพี ซึ่งมักสร้างรายได้จากการขายไลเซนส์การใช้งานซอฟต์แวร์ที่คิดตามการติดตั้ง ลงบนเครื่องแต่ละครั้ง รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ได้จากการดูแล ปรับปรุงระบบให้ในภายหลัง

ดังนั้น ไมโครซอฟท์ จึงได้กระโดดเข้าสู่สมรภูมิของ Cloud Computing ด้วยการเปิดตัว Windows Azure วินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ที่รันบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็น Cloud OS โดย Windows Azure สนับสนุนเทคโนโลยีหลักของไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ Windows Azure เป็นแพลตฟอร์มหรือรูปแบบมาตรฐานของเทคโนโลยี Cloud Computing เหมือนกับที่วินโดวส์โมบายล์ (Windows Mobile) เป็นแพลตฟอร์มของโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ

ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ได้เตรียมความพร้อมการให้บริการ Cloud Computing ทั่วโลก ล่าสุดดาต้าเซ็นเตอร์ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 ศูนย์ ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยศูนย์ทั้งหมดสามารถให้บริการผู้ใช้ได้ทั่วโลก สำหรับตลาดเมืองไทยนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีบริการบน Cloud Computing ให้บริการประมาณครึ่งหลังของปี 2552 อย่างแน่นอน โดยกลุ่มเป้าหมายคือธุรกิจทุกขนาด ซึ่งการให้บริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud Computing นับเป็นกลยุทธ์ล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่เปลี่ยนนิยามตัวเองจากบริษัทซอฟต์แวร์ (Software Company) เป็นบริการซอฟต์แวร์และบริการ (Software Plus Service Company)

ตัวอย่างบริการแอ พพลิเคชั่นบน Cloud Computing ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ทั้ง Microsoft Word และ Excel รวมถึง Exchange และ Share Point ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องพีซี ซึ่งไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้บริการโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โปรแกรมที่ทันสมัยมากที่สุดจนถึงเวอร์ชั่นธรรมดาในหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นแบบพ่วงโฆษณาไปกับตัวโปรแกรม ระบบสมาชิก และแบบมีค่าไลเซ่นส์

Cloud Computing: ความท้าทายครั้งใหม่ของซอฟต์แวร์เฮ้าส์ไทย

สมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า Cloud Computing อาจดูเป็นเหมือนปัจจัยลบต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์จากการขายสินค้าเป็นไลเซ่นส์มาสู่การขาย บริการ ซึ่งในระยะแรก Cloud Computing ถือเป็น Killer ที่จะมาทำลายระบบการขายแบบเดิมแต่ในระยะยาวจะให้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอ ฟตแวร์ไทย เพราะ Cloud Computing เหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นพื้นฐานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก อาทิ Excel และ Office แต่ไม่เหมาะกับแอพพลิเคชั่นที่เป็นระบบหลักอย่าง Core Banking ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยจึงต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาตัวเองไปสู่การพัฒนา ซอฟต์แวร์โดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลางแทนความคิดแบบเดิมๆ ที่คิดถึงสินค้าเป็นหลัก

นอกจากนี้ในระยะยาว Cloud Computing จะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในเรื่องของต้นทุนเพราะไม่ต้องลง ทุนสร้างเครือข่ายในการขาย และสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นโมดุลๆ ขายได้ทันที แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากคือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อมีผู้ใช้บริการหันมาซื้อซอฟต์แวร์ผ่าน Cloud Computing มากขึ้น จึงต้องมั่นใจว่าสามารถให้บริการหลังการขายได้อย่างดี ในด้านผู้ใช้บริการก็จะได้ประโยชน์เพราะ Cloud Computing จะช่วยลดภาระค่าไลเซ่นส์มาสู่การจ่ายตามการใช้งานจริง

“Cloud Computing มีทั้งความเสี่ยงและโอกาส ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่ต้องเรียนรู้เพื่อที่สร้าง เงินจากเทคโนโลยีใหม่นี้ให้ได้”

(บทความช้นนี้เคยถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร SME Thailand)