Mobile Office แนวโน้มรูปแบบการทำงานใหม่ เปลี่ยนทุกที่เป็นที่ทำงาน ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กร

2 ความเห็น


ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสาร ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ไหนมุมไหนเวลาไหนก็ได้ ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ในยุคดิจิตอลที่คนทำงานสามารถติดต่อสื่อสารกัน ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการทำงานแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่มีโครงข่ายการสื่อสารที่พร้อมที่จะให้คนทำงานสามารถที่ไหน อย่างไร ได้ทุกที่ทุกเวลา

บริษัทสื่อสารทางเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชื่อดังอย่าง Skype เองได้จัดทำสำรวจแนวโน้มของการทำงานที่บ้านจากคนทำงานกว่า 1,000 คนจาก 500 บริษัทในทุกขนาดในอเมริกา พบว่า การทำงานจากนอกที่ทำงานหรือทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมการทำงานในต่างประเทศแล้ว ตัวเลขเชิงสถิติจากผลการสำรวจมีความน่าสนใจซึ่งสะท้อนแนวโน้วรูปแบบการทำงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี การสำรวจพบว่ามากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของ 500 บริษัทได้มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ในขณะที่ราว 34 เปอร์เซ็นต์ได้เริ่มให้พนักงานทำงานจากข้างนอกออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งการให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้นอกที่ทำงานนั้นมีส่วนทำให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น

“อาร์เอส” ริเริ่ม Mobile Office:

ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทยที่เริ่มให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหน ก็ได้นอกที่ทำงาน อาทิ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ให้ทีมงานด้าน Strategic Innovation Business ของบริษัทสามารถทำงานที่บ้านหรือนอกออฟฟิศได้ ซึ่งทีมงาน Strategic Innovation Business ของบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ทั้ง 3 คนมักจะนัดพบกันตามร้านกาแฟเพื่อระชุมหารือความคืบหน้าของงาน และเตรียมข้อมูลเพื่อนเข้าประชุมกับ “เฮียฮ้อ” คุณสุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ซีอีโอแห่งอาร์เอส และการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในอาร์เอส

เนื่องจากหน่วยงาน Strategic Innovation Business เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เหมือนสมองของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ทำงานด้านวิจัยและจับจ้องเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมที่จะเข้ามาเสริมธุรกิจบันเทิงของ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล รองประธานสายงาน Strategic Innovation Business บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หน้าที่หลักของเขาและทีมงานคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์และสรรหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเกื้อหนุนของเทคโนโลยีและวิธีการคิดแบบใหม่ๆ ดังนั้นการนั่งทำงานภายในห้องสี่เหลี่ยม หรือการต้องเดินทางเพื่อไปทำงานในตอนเช้าและกลับบ้านในตอนเย็นร่วมเวลากับพนักงานคนอื่นๆ ไม่ได้ตอบโจทย์การทำงานทีมนี้ ซึ่งวัดผลงานที่ผลของเนื้อหางานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่เข้ามานั่งทำงานที่ที่ทำงาน

อาทิตย์มักจะใช้ร้านกาแฟ ที่มีบริการอินเทอร์เน็ตเป็นที่นัดประชุมและคุยงานกับทีมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ส่วนวันอื่นอาทิตย์กับทีมงานจะทำงานอยู่ที่บ้าน เว้นแต่ในบางสัปดาห์ที่อาทิตย์ต้องเตรียมงานและข้อมูลเพื่อเข้าประชุมกับผู้บริหารเพื่อนำเสนอแนวความคิดและองค์ความรู้ใหม่ๆ สัปดาห์นั้นอาทิตย์และทีมจะนัดพบกันบ่อยมากขึ้น โดยปกติ อาทิตย์และทีมงานจะมีอุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อันได้แก่ อุปกรณ์แท็ปเล็ต (Tablet) ที่ทั้งทีมใช้อยู่คือ iPad ที่ลงแอพพลิเคชั่นสำหรับการ ทำงานไว้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น Pages สำหรับงานเอกสาร Keynote สำหรับงานพรีเซนเตชั่น และ Numbers สำหรับงานด้านตัวเลข เป็นต้น รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่อาทิตย์ใช้อยู่เป็นประจำคือ Google Apps อาทิ Gmail และ Google Docs รวมถึง แอพพลิเคชั่นที่เป็นคลาวด์อื่นๆ อาทิ Dropbox เป็นต้น

“เราแทบไม่ต้องพกพาอุปกรณ์การทำงานที่เทอะทะ มากมาย เพียงแต่ iPad 3G และ iPhone 4 และหาที่นั่งทำงานที่มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ให้บริการเท่านั้นทุกอย่างก็อยู่ในมือเรา เราสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา การทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศมีประโยชน์มากสำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ คนจะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตอนที่เขาอยู่ในสภาวะที่สบายๆ การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นรูปแบบการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมากกว่าการที่ต้องเดินทางเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศมากไฟล์งานทุกอย่างจะอยู่ในเครื่อง iPad และเก็บไว้บนระบบคลาวด์ ซึ่งอาทิตย์สามารถเก็บและแชร์ไฟล์รวมถึงข้อมูลต่างๆ กับทีมงานตนและกับคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกและง่ายดายมาก”

อาทิตย์เชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office คือ ทำงานที่ไหนก็ได้นั้นจะเริ่มมีปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะความพร้อมมากขึ้นของโครงข่ายสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้ง WiFi และ 3G  ประกอบกับอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ง่ายและเปี่ยมประสิทธิภาพในการทำงานสูงเริ่มมีใช้แพร่หลาย และราคาไม่แพงมาก รวมถึงการที่มีแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การทำงานแบบ mobile office และเอื้อให้การทำงานที่ไหนก็ได้เป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำหรับตัวเขาเองและทีมงานได้เริ่มทำงานในรูปแบบ mobile office มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี อาทิตย์มองว่า สิ่งสำคัญของรูปแบบการทำงานแบบนี้ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มอยู่ในขณะนี้นั้น จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ไม่กับทุกหน่วยงานในแต่ธุรกิจ และบริษัทที่อนุญาตให้มีการทำงานแบบ mobile office ได้นั้นบริษัทจะต้องมีระบบการประเมินผลงานที่ตัวเนื้องานมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่พนักงานเข้ามาทำงานในออฟฟิศ และตัวคนทำงานเองจะต้องปรับวิธีคิดและรูปแบบการทำงานให้สามารถ ทำงานแบบ Dynamic ได้ นั่นคือ ต้องทำงานได้ทำที่ทุกเวลา ทุกแอพพลิเคชั่น และต้องสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน (multitasking workers)

“นอกจากเรื่องทักษะในการทำงานแบบหลายชนิดในเวลาเดียวกันพร้อมๆกันได้แล้ว คนทำงานในรูปแบบ mobile office นั้นจะต้องมีวินัยในการทำงานสูงและต้องรู้จักการบริหารเวลาที่ดีมากพอ เพราะการทำงานแบนี้จะใช้ผลงานที่ได้เป็นตัวชี้วัดสำคัญ” อาทิตย์กล่าวทิ้งท้าย

ผู้บริหาร “อเด็คโก้” ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา:

นอกจาก บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) แล้ว ยังมีบริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทจัดหางานอันดับต้นๆ ของเมืองไทยเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีโนบายให้พนักงานระดับผู้บริหารสามารถทำงานจากที่บ้านหรือจากนอก ที่ทำงานได้ บริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด มีพนักงานราว 200 คน ซึ่งเป็นระดับผู้จัดการ 10 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถทำงานแบบ mobile office ได้และ กานดา สุภาวศิน E-Business Development Manager บริษัท อเด็คโก้(ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งในพนักงานจำนวนนั้น เธอเล่าว่า ด้วยหน้าที่การงานที่เธอต้องรับผิดชอบในส่วนงานด้านการสมัครงานออนไลน์/ดูแลผู้สมัคร งาน/ลูกค้า ทั้งระบบ Back Office และ Front Office และดูแลส่วน Online Marketing/SEO/Social Media ของบริษัทร่วมกับ Marketing Team ทำให้เธอต้องเดินทางบ่อยและต้องทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์

กานดา เล่าว่า บริษัทของเธอมีนโยบายให้พนักงานระดับผู้จัดการสามารถทำงานแบบ work from home หรือ ทำงานแบบ mobile office ได้ ด้วยระบบของบริษัทที่เชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของสำนักงานสาขาทั้ง 6 แห่งในประเทศไทย (รวมสำนักงานใหญ่) ที่เปิดโอกาสให้ผู้จัดการสามารถเข้าระบบงานของบริษัทได้จากข้างนอกออฟฟิศผ่านระบบโครงข่ายส่วนตัวเสมือนหรือ VPN (Virtual Private Network) ทำให้กานดามมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงมาก เพราะเธอสามารถจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านกาแฟ ร้านเบเกอร์รี่ร้านโปรด หรือมุมสบายๆ ในที่ทำงานของเธอเอง

“ด้วยลักษณะงานที่ต้องเดินทาง ติดต่อสื่อสารประสานงานกับทีมงานตามที่ต่างๆ และตามสาขาต่างๆ ของบริษัทอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราต้องฝึกการทำงานแบบที่ไหน เมื่อไร ก็ทำงานได้ และเราจะสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันได้ ซึ่งปัจจุบันปัจจัยต่างๆ มีความพร้อมและช่วยเสริมให้การทำงานแบบ mobile office เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ปัจจุบัน อุปกรณ์ในการทำงานหลักของกานดา คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ที่เธอมักจะพกไว้ข้างกายตลอดเวลา เธอบอกว่าเธอใช้ทุกช่องทางการสื่อสารเพื่อติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับทีมงานของเธอ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ หรือแอพพลิเคชั่นสื่อสารยอดนิยมอย่าง Skype, WhatsApp และ Viber ที่เธอมักจะใช้เป็นประจำ นอกเหนือไปจากการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเพื่อเข้าระบบงานของเธอที่ออฟฟิศผ่านเทคโนโลยี virtual desktop นอกเหนือไปจากแอพพลิเคชั่นที่กล่าวมาแล้ว กานดายังประยุกต์ใช้สื่อเครือข่ายสังคม (Social Network) อย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นช่องทางสื่อสารกับทีมงานช่องทางหนึ่ง และใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับสังคมออนไลน์และใช้เพื่อติดตามข่าวสาร

“เนื่องจากต้องดูแลทั้งประเทศไทยและเวียดนาม จึงต้อติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ อยู่เป็นประจำ ซึ่งนโยบายบริษัทให้เราใช้ Skype ได้ เราก็จะประชุมงานกันผ่าน Skype เป็นประจำ และเมื่อต้องเดินทางไปเวียดนาม อุปกรณ์ทำงานของเราทั้ง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค กับโทรศัพท์มือถือ iPhone 4 ก็สามารถช่วยให้เราทำงานแบบไร้รอยต่อ คือ ทำงานเหมือนกับอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะเราสามารถเข้าระบบงานของเราที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะที่นั่นเขามีเครือข่าย 3G ให้ใช้ฟรีตามร้านค้า ร้านอาหาร และสองข้างถนน สะดวกสบายมาก”

กานดาบอกว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้ว่าการทำงานแบบ mobile office จะไม่สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานทั้งหมดของเธอได้ เพราะเธอยังคงต้องเข้าที่ออฟฟิศเพื่อประชุมงานอยู่เป็นประจำ แต่เธอก็ยอมรับว่าการทำงานในลักษณะแบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารเวลาในการทำงาน และช่วยลดต้นทุนการสื่อสาร ลดต้นทุนค่าเดินทางเพื่อจะไปประชุมลงไปได้มาก เธอเชื่อว่ารูปแบบการทำงานแบบ mobile office จะมีให้เห็นมากขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งเธอมองว่าไม่ใช่ทุกหน้าที่การงานสามารถทำงานแบบ mobile office ได้ งานบางอย่าง อาทิ งานด้านบัญชี อาจจะต้องเข้ามาทำงานประจำที่ที่ออฟฟิศ

“การทำงานแบบ mobile office นั้นจะให้ประสบความสำเร็จและได้ระสิทธิภาพ บริษัทจะต้องให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานด้วย อาทิ การให้พนักงานสามารถเข้าระบบข้อมูล ได้จากที่ไหนก็ได้ การสนับสนุนอุปกรณ์ และต้นทุนการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการทำงานแบบ mobile office เอาเข้าจริงๆ แล้ว พนักงานที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจะยิ่งทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเขาจะทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เขาจะทำงานทุกที ทุกเวลา แบบไม่มันหยุด เพราะเขาจะทำงานเหมือนไม่ได้ทำงาน และจะทำงานได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน”

กานดาเสริมว่า อยากให้องค์กรธุรกิจมองไปที่รูปแบบการทำงานแบบ mobile office มากขึ้น และควรจะสนับสนุนการทำงานแบบ mobile office ของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนค่าอุปกรณ์และค่าค่าสื่อสาร ลงทุนระบบงานของบริษัทให้พนักงานสามารถเข้าผ่านอินเทอร์เน็ตจากที่ไหนเข้ามาทำงานก็ได้ เพราะในระยะยาวแล้ว ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุน เพราะพนักงานไม่ต้องเข้านั่งมาทำงานที่บริษัท บริษัทสามารถลดขนาดพื้นที่ ลดจำนวนอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ ลดปริมาณการใช้พลังงานลงได้มาก

“การทำงานในสภาวะที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่คนที่จะสามารถทำงานแบบ mobile office จะต้องสามารถบริหารเวลา และควบคุมดูแลตนองให้ทำงานได้ดีด้วย” กานดากล่าวทิ้งท้าย

Google Apps + Cloud ปัจจัยเร่ง Mobile Office:

แนวโน้มรูปแบบการทำงานแบบ mobile office นั้นกำลังเป็นที่นิยมและเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ด้วยความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความครอบคลุมมากขึ้น กอปรกับสภาพการจราจรที่แออัดทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาทดลองให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท กูเกิ้ล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่คนต้องใช้เวลาในการเดินทางเพื่อไปทำงานมากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดทั้งในช่วงเช้าและเย็น ระบบคมนาคมขนส่งไม่สะดวกสบายมากนัก และกรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งสภาพแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะรับรูปแบบของการทำงานแบบ mobile office มาใช้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีบริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยหลายรายเริ่มหันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบนี้แล้ว จะเห็นได้จากปริมาณการใช้ระบบซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์เซอร์วิสของกูเกิ้ล ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบงาน Google Apps

“ความสามารถในการทำงานบนรูปแบบ mobile working ในปัจจุบันมีมากขึ้นมากเมื่อความพร้อมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบวกกับความแพร่หลายของอุปกรณ์พกพาต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต (Tablet) มีเพิ่มมากขึ้นจนยอดขายโดยรวมแซงหน้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้อุปกรณ์พกพาฉลาดๆ แบบนี้เมื่อรวมกับระบบซอฟต์แวร์ที่กูเกิ้ลให้บริการผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น เขาจะทำงานที่ไหน และเมื่อใดก็ได้ ชีวิตการทำงานก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น”

พรทิพย์ เล่าวว่า ตัวเธอเองในฐานะพนักงานกูเกิล ก็ได้ทำงานบนรูปแบบของ mobile working เนื่องจากเธอต้องเดินทางบ่อยแต่ต้องมีการประชุมติดต่อประสานงานกับทีมงานอยู่เป็นประจำ เธอพกพาอุปกรณ์การทำงานเพียงสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่บางเฉียบ ก็สามารถเปลี่ยนทุกสถานที่ที่เธออยู่ในปัจจุบันเป็นที่ทำงานเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย งานต่างๆ ที่เธอทำค้างอยู่ก็สามารถทำอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เธอไม่ต้องพกพาไฟล์งานหรือไฟล์เอกสารใดๆ ไปด้วยกับเธอ แม้แต่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) เธอยังไม่ต้องพกพาไว้ในคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากนั้นพรทิพย์ก็โหลดทุกอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานลงมาที่เครื่องเพื่อทำงานจากนั้นก็จัดการจัดเก็บไฟล์งาต่างๆ กลับขึ้นไปไว้บนระบบคลาวด์ดังเดิมเมื่อทำงานเสร็จแล้ว

“รูปแบบการทำงานแบบนี้ พนักงานของกูเกิ้ลทั่วโลกทำอยู่ และเริ่มเห็นแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย เพราะปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความครอบคลุมมากขึ้น และคนไทยเริ่มมีความคุ้นชินกับการใช้บริการคลาวด์ผ่านบริการของกูเกิ้ลหลายอย่าง อาทิ Gmail และ Google Doc ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มที่จะทำงานจากทุกที่ที่เขาต้องการมากขึ้น คลาวด์แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็นประจำคือ Gmail, Google Talk, Calendar, Google Doc, SpreadSheet และ Google Map”

พรทิพย์ กล่าวเสริมว่า ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (Small and Media Enterprise: SME) ในประเทศไทยหลายรายเริ่มมีการใช้ระบบงาน mobile solution มากขึ้น ระบบซอฟต์แวร์ Google Apps ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ เนื่องจาก เอสเอ็มอีสามารถเริ่มต้นใช้บริการได้ฟรีหากไม่ต้องการระบบซอฟต์แวร์ที่มีการการันตีคุณภาพของบริการ (Service Level Agreement: SLA) แต่หากเอสเอ็มอีต้องการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมบริการหลังการขาย ต้องการระบบรักษาความปลอดภัย และต้องการบริการเรื่องการพัฒนา ต่อยอกแอพพลิเคชั่น (API: Application Programming Interface) ก็สามารถใช้บริการ Google Enterprise ได้โดยลงทุนเริ่มต้นเพียง 50 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บัญชีผู้ใช้งานต่อปี

“เอสเอ็มอีเริ่มใช้และเริ่มรู้ว่าเขาสามารถซิงค์ระบบงานทุกอย่างระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน และแท็ปเล็ตได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันเอสเอ็มอีหลายรายเริ่มใช้แอพพลิเคชั่นที่จำเป็นระหว่างเดินทางมากขึ้น”

Google Apps รองรับการใช้งานตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์พกพา ไปจนถึงแท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน และรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ในทุกแพลตฟอร์มทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซิมเบี้ยน แอนด์ดรอยด์ และ iOS พรทิพย์ กล่าว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (Mobile Internet Users) 12 ล้านคนในประเทศไทยเมื่อรวมกับความพร้อมของบริการ Google Apps และคลาวด์คอมพิวติ้ง จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile working เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ทั้งนี้นั้นบริษัทต่างๆ เมื่อเห็นแนวโน้มของความสามารถในการทำงานในทุกที่ทุกเวลาของพนักงานได้แล้ว หากมีการปรับนโยบายโดยอนุญาตให้พนักวานในส่วนวานที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาทำงานที่ทำงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากสถานที่ใดๆได้ จะยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ mobile office เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

“หากองค์กรใดมีนโยบายหรือกำลังเตรียมจะมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือภายนอกที่ทำงานได้ สิ่งที่บริษัทเหล่านี้จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบรักษาความพร้อมภัยของข้อมูล ซึ่งทางเลือกที่แนะนำสำหรับองค์ขนาดกลางและเล็กคือ การพึ่งพาบริการของคลาวด์คอมพิวติ้ง ของผู้ให้บริการ จะเป็นกูเกิ้ลหรือไม่ก็ได้ เพราะผู้ให้บริการคลาวด์จะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรับประกันคุณภาพบริการและความเสถียรของการใช้งานและการเข้าถึงระบบข้อมูลและแอพพลิเคชั่น”

พรทิพย์ กล่าวว่าหากเอสเอ็มอีรายใดต้องการใช้บริการคลาวด์ และ Google Apps หรือ Google Enterprise ลูกค้าสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและซื้อบริการได้ด้วยตนเองที่ http://www.google.com/a หรือจะติดต่อขอใช้บริการผ่านตัวแทนจำหน่ายของกูเกิ้ลในปรพเทศไทยอย่างเป็นทางการ 2 ราย คือ CRM & Cloud Consulting และ Tangerine ลูกค้าที่มีระบบงานระบบฐานข้อมูลของตัวเองอยู่แล้วก็สามารถมาใช้งานและรวมระบบเข้ากับระบบงานบนคลาวด์ของกูเกิ้ลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทคนไทยนี้จะสามารถให้บริการและคำปรึกษาลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ Google Enterprise

เทคโนโลยี Mobility หัวใจขับเคลื่อน Mobile Office:

เนื่องจากโดยพื้นฐานมนุษย์ทุกคนต้องการความสะดวกสบายในการทำงานการมีสิงอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ย่อมทำให้มนุษย์มีความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิตมากขึ้น มนู อรดีดลเชฐ ประธานคณะกรรมการบริหาร เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารพกพาที่มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น ประกอบกับความพร้อมของระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถให้บริการผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลาเพิ่มมากขึ้น

“จะเห็นการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจนภายในหนึ่งเจนเนอร์เรชั่นของคน ที่วิถีชีวิต วิถีการทำงานจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยทั้งโครงข่าย อุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่น หากบริษัทหรือองค์กรธุรกิจไหนปรับตัวปรับรูปแบบการทำงานทัน เด็กรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาจะเลือกที่จะไปทำงานกับบริษัทเหล่านั้น เพราะมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา เขาไม่ถนัดทำงานในสภาพแวดล้อมที่เขาไม่คุ้น บริษัทหรือองค์กรธุรกิจจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับวัฒนธรรมรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ปฏิเสธไม่ได้ ปัจจุบันมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน ในประเทศไทยมีคนใช้ Facebook 8 ล้านคน สิ่งเหล่านี้มีผลและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตการสื่อสารและการทำงานทั้งสิ้น”

มนู กล่าวต่อว่า เครือข่ายสังคม (Social Network) จะเข้ามาเป็นโครงข่ายการสื่อสารหลักอย่างหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารในกลุ่มของคนในรุ่นใหม่ จากเดิมที่มีเพียงโทรศัพท์ประจำที่ เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาเป็นอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันพัฒนาการมาเป็นเครือข่ายสังคม ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถจับต้องได้แล้ว องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาว่านโยบายขององค์กรควรเป็นอย่างไรเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันนี้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด เพราะการที่มีความสามารถในการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา (Mobility) มากขึ้น จะทำให้ทำงานได้มากขึ้น จึงนับว่าเป็นความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่จะต้องมองแนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ออกและเตรียมพร้อมรับมือและปรับตัว

Lennard Hoornik, president of HTC Asia South, first in BKK

ใส่ความเห็น

Lennard Hoornik, president of HTC Asia South, first in BKK

เดลล์ประกาศรุกตลาดสมาร์ทโฟน เปิดตัว “เดลล์ เวนิว”

ใส่ความเห็น

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าวการรุกตลาดสมาร์ทโฟนของเดลล์

นายคเณศณัฏฐ์ ชยามรฉัตรคุปต์ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจ Mobility บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาธิตคุณสมบัติของ “เดลล์ เวนิว”

 

รีวิว “เดลล์ เวนิว” โดย 6 บล็อกเกอร์

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เทคโนโลยีไฮไลท์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานในโลกดิจิตอล

ใส่ความเห็น


ด้วยความที่คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ ขององค์กรทั้งในเรื่องของการลงทุนด้านเทคโนโลยี เรื่องประสิทธิภาพการใช้งานระบบ และรวมถึงเรื่องของการตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่สามาาถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา กอปรกับความรู้ความเข้าในของผู้ใช้งานที่มีต่อคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีเพิ่มมากขึ้นและให้ความไว้วางใจในระบบนี้มากขึ้น จึงทำให้คลาวด์คอมพิวติ้งยังคงเป็นเทคโนโลยีไฮไลท์ในปีนี้ในภูมิภาคนี้และในประเทศไทย

บริษัทวิจัยไอดีซี (International Data Corporation) ได้คาดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่นจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ  ทำให้ธุรกิจการให้บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 และจะมีการเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด โดยผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554 ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน   ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ  ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ

แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจลงทุนเทคโนโลยีนี้อีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้

ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะ เปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย

คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด
ในปีนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมผนึกกำลังกับยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์เพื่อขับเคลื่อนให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เกิด

ขึ้นอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นความเคลื่อนไหวของยักษ์โทรคมนาคม บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (สิงเทล) จับมือวีเอ็มแวร์ เปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์แบบออนดีมานด์ SingTel PowerON Compute ที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ VMware vCloud Datacenter Service ช่วยลูกค้าองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นการประมวลผลไฮบริด คลาวด์ ( Hybrid Cloud ) ระดับองค์กรจะช่วยให้ลูกค้าสามารถอัพเกรดทรัพยากรไอที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากหรือรับมือกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดซื้อและจัดการเซิร์ฟเวอร์และ ระบบต่างๆ เพิ่มเติม และดังนั้นจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์บริษัทต่างๆ จะสามารถขยายทรัพยากรของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบส่วนตัวที่มีอยู่ไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะได้อย่างไร้รอยต่อ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นอีกครั้ง นั่นหมายความว่าลูกค้าจะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งแบบออนดีมานด์บนระบบสาธารณะโดยเสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือความร่วมมือระหว่าง 2 ผู้นำทางด้านไอที บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเสนอบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสู่องค์กรธุรกิจไทยด้วยบริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร ด้วยดิจิตัลคอนเทนท์ โฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ อีเมล เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน

ความร่วมมือระหว่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ การผนึกกำลังดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยยกระดับไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานของผู้ใช้งานชาวไทยไปสู่การใช้งานทางธุรกิจได้

คาดว่าภายในปีนี้จะได้เห็นรูปแบบความร่วมมือในลักษณะนี้ที่ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อนำเสนอบริการการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ททท. ชูนโยบายปี 54 ด้วยการตลาดเชิงรุกใช้ “ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง”

1 ความเห็น


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับเป็นเส้นเลือดหลักทางเศรษฐกิจของประเทศไทยรองจากอุตสาหกรรมส่งออก ด้วยความได้เปรียบในทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลจากทั่วสารทิศทั่วโลกมาเยือนประเทศไทยปีละจำนวนไม่น้อย ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักแห่งหนึ่งของพวกเขาแม้ว่าปัจจุบันสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศในแถบเอเชียด้วยกันจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตและโน้มเอียงไปกับคำแนะนำ ติชมของเพื่อนนักเดินทางที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น จนแทบจะเรียบได้ว่ามี “อิทธิพล” ต่อความคิดและการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มากในปัจจุบัน

ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำต้องปรับนโยบายและเปลี่ยนแนวกลยุทธ จากเดิมที่ใช้ “สื่อดั้งเดิม” เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันภายใต้การบริหารงานของ “สุรพล เศวตเศรณี” ผู้ว่าการฯ คนปัจจุบัน ททท.จะเน้นนโยบายเชิงรุกในการใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอล (Online/Digital Marketing) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น

นโยบายของททท.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยโดยใช้การตลาดออนไลน์หรือการตลาดแบบดิจิตอลเป็นอย่างไร
เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ทำให้ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมให้เกิดการมาเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงของประเทศในเวทีโลก จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การโปรโมทการท่องเที่ยวจากเดิมที่ทำอยู่ ได้แก่การซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อเก่า อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เป็นกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในแง่ของความรวดเร็วของการเข้าถึง ความพลวัตรของข้อมูล ความแพร่หลายของข่าวสารที่มีจำกัด ทำให้ททท.พิจารณาแล้วเห็นว่าหากยังทำการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยบนสื่อเดิมเพียงอย่างเดียวจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเสียโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนมากและเสียโอกาสที่จะมีพื้นที่ยืนและมีแบรนด์อันแข็งแกร่งบนโลกออนไลน์ไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น ททท.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มกลยุทธการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่ (New Media) บนโลกออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแท็ปเลต (Tablet) ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค (www.facebook.com/AmazingThailand) และทวิตเตอร์ (Twitter.com/Go2Thailand) เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างททท.กับกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์

ททท.ได้เพิ่มสัดส่วนของงบประมาณในการโปรโมทการท่องเที่ยวผ่านสื่อใหม่จากเดิมที่มีเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณในการส่งเสริมทั้งหมดของททท.ในปี 2552 เพิ่มเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาและจะเพิ่มเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะรักษาฐานนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวประเทศบ่อยๆ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าปีนี้จะเข้ามาเที่ยวเมืองไทยราว 15.5 ล้านคน ไว้ให้ได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวในส่วนนี้จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง หรือมีส่วนกับการจัดแผนการท่องเที่ยวของตัวเอง ดังนั้นข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ทั้งสินค้าและบริการของแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลที่พัก ข้อมูลพื้นที่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาก หน้าที่ของทท.คือการนำฐานข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลของททท.และเป็นข้อมูลของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยล่าสุดททท.ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “Amazing Thailand” ซึ่งมีไว้บริการสำหรับอุปกรณ์ทุกแพลตฟรอ์ม ทั้งบน iOS ได้แก่บน iPad iPhone และ iPod และบน BlackBerry กับบนAndroid

ภายใต้แอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” ประกอบด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง และมีการเตรียมแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า โดยข้อมูลแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย (About Thailand) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ (Event) แผนที่ (Map) บุ๊คมาร์ค (Bookmark) เคล็ดลับการช้อปปิ้ง (Shopping Tips) ข้อมูลแหล่งอาหารไทย (Thai Food) คำถามที่มักพบบ่อย (FAQs) และบริการคำค้น (Search)

จุดเด่นของแอพพลิเคชั่น “Amazing Thailand” คืออะไร
จุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้คือ การต่อยอดข้อมูลด้านการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว อาทิ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว (Destinations) ททท.ได้คัดสรรแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ด้วยตัวเองมาให้บริการพร้อมบอกวิธีการเดินทางไป แนะนำสถานที่พัก รวมถึงสถานที่กินดื่ม และแหล่งช้อปปิ้ง เพื่อให้ข้อมูลเบ็ดเสร็จในที่เดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการวางแผนการท่องเที่ยว และเอื้อให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาท่องเที่ยวนานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น ปัจจุบันททท.นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวบนแอพพลิเคชั่นแล้ว 89 แห่ง

ทว่าประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งททท.จะทยอยนำแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นขึ้นมาไว้บนแอพพลิเคชั่นในอนาคต ทั้งนี้การเลือกแหล่งท่องเที่ยวก่อนหลังพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นๆ ด้วยว่ามีความพร้อมและสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่อาจจะมีการติดต่อขอข้อมูลหรือสั่งจองบริการผ่านระบบออนไลน์ เพราะในอนาคตททท.มีแผนจะพัฒนาต่อยอดแอพพลิเคชั่นจากการให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไปสู่การอำนวยความสะดวกในการสั่งจองหรือสั่งซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวบนระบบออนไลน์ในคราวเดียวเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ททท.อาจจะต้องอาศัยพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ประกอบการเข้ามาบริหารจัดการการซื้อหรือการจองออนไลน์ เนื่องจากด้วยอำนาจหน้าที่ของททท.เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้น ททท.จะไม่ลงไปให้บริการหรือบริหารระบบเอง

จุดเด่นอีกประการของแอพพลิเคชั่นนี้คือการสร้างความยืดหยุ่นให้กับงานกิจกรรมต่างๆ (Event) เดิมทีที่ใช้สื่อดั้งเดิมที่มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาและความเร็วในการผลิตและกระจายข้อมูลต่ำ ทำให้ททท.สามารถโปรโมทแต่เฉพาะงานกิจกรรมที่รู้ล่วงหน้า 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะต้องให้เวลากับการผลิตสื่อค่อนข้างมาก ซึ่งจะโปรโมทได้เพียงกิจกรรมหลักที่จัดประจำในแต่ละปีตกราว 100 รายการ เท่านั้น แต่ด้วยสื่อดิจิตอล และออนไลน์มาร์เก็ตติ้งทำให้ททท.สามารถเพิ่มเติมข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่มีมากถึงกว่า 1,000 กิจกรรมเข้าไปในแอพพลิเคชั่นนี้ได้ซึ่งจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้มากขึ้น

ซึ่งงานกิจกรรมต่างๆ (Event) นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยดึงให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงาน และทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวไม่มีข้อมูลงานต่างๆ เหล่านี้เขาก็ไม่เดินทางมา หรือเดินทางมาแต่ไม่ได้ใช้เวลาเที่ยวในเมืองไทยนานขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีกิจกรรมอะไรที่เขาสนใจแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่พลวัต หากไม่ได้สื่อใหม่เข้ามาช่วยเผยแพร่คงทำไม่ได้

แผนงานในปีนี้นอกจากจะให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแล้ว ททท.มีแผนจะต่อยอดบริการเพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง ด้วยการให้บริการข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน อาทิ เมื่อนักท่องเที่ยวเจอสถานที่ที่อยากมาเที่ยว ก็สามารถรู้ได้ว่า สถานที่นี้อยู่ที่ไหน ไปอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรให้เที่ยวหรือให้ทำบ้าง และหากเขาจะเปลี่ยนไปอีกสถานที่หนึ่งเขาสามารถไปได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำเสนอในหลายรูปแบบทั้งข้อมูลตัวอักษร ภาพ แผนที่และในอนาคตอาจจะเป็นมัลติมีเดีย ในอนาคตททท.จะทำแผนโปรโมทการท่องเที่ยวแบบ Permission Marketing เราจะออกแบบข้อมูลการท่องเที่ยวให้ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในแต่ละเซ็กเม้นท์มากขึ้น โดยเราจใช้ฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เรามีอยู่จากการที่เขาลงทะเบียนลงแอพพลิเคชั่นของเราไป และจากข้อมูลที่เขาได้ทำผ่านแอพพลิเคชั่นจะทำให้เรามีฐานข้อมูลของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ซึ่งการจะทำการตลาดเชิงรุกในลักษณะนี้เราจะต้องได้รับอนุญาตจากนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลเสียก่อน

เป้าหมายสูงสุดของททท.ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคืออะไร
ททท.ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความอ่อนไหวตามเหตุปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น แทนที่เราจะขายบริการด้านการท่องเที่ยวด้วยสินค้าและบริการที่ตายตัวปีต่อปี เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสินค้าและบริการที่มีอยู่มาช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถสร้างและออกแบบแผนการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นสูงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยวเองและประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ททท.เราเล่นบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เราต้องการสร้างให้เกิดการเข้าถึงโดยตรงระหว่างนักท่องเที่ยวกับตัวสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ททท.มิได้มุ่งหวังเพียงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี พยายามให้เขาอยู่นานขึ้นในแต่ละทริป และพยายามให้เขาใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละครั้งที่มาเที่ยว แต่ททท.ยังมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวไทยออกเดินทางท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวไทยเป็นอีกปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวไทยราว 87 ล้านคนครั้ง (จำนวนครั้งของการท่องเที่ยว) ซึ่งในปีนี้ททท.ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวไทยออกเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 91 ล้านคนครั้ง

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติปัจจุบันส่วนใหญ่กลายเป็นประชากรดิจิตอล (Digital Citizen) ซึ่งปฏิเสธไมได้ว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงพวกเขาและสื่อสารกับพวกเขาได้ตรงความต้องการ ส่วนตัวผมเองไม่ได้เป็นคนใช้หรือรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก แต่ผมรู้และเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง ผู้ในฐานะผู้บริหารและผู้ให้นโยบายจึงได้ให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่ของททท.ทุกคนว่าองค์กรเราจะเดินหน้าสู่ทิศทางนี้ เราจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งเรื่องการทำงานภายในองค์กรเราเองและเรื่องงานที่เราจะต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเพื่อสื่อสารกับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว จากนี้ไปจะเห็นบทบาทของททท.ในมิติขององค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานอย่างมากอย่างแน่นอน

(บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารรายสามเดือน Smart Industry)

“สุวรรณไพศาลขนส่ง” ขนส่งรายได้แห่งเมืองเหนือติดปีกธุรกิจด้วยไอที

ใส่ความเห็น

บริษัทขนส่งอายุเก่าแก่กว่า 20 ปีแห่งภาคเหนือตอนบน นาม “สุวรรณไพศาลขนส่ง” ปฏิวัติธุรกิจขนส่งท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมและสร้างแต้มต่อในการแข่งขันรับตลาดเสรีอาเซียนเปิดที่คาดว่าจะมีคู่แข่งต่างชาติทยอยตบเท้าเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดโลจิสติกส์อย่างแน่นอน

สุรชิน ธัญญะผลิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุวรรณไพศาลขนส่ง จำกัด ทายาทรุ่นสองของครอบครัวที่เบนเข็มชีวิตจากนักเรียนนอกด้านคอมพิวเตอร์มารับช่วงกิจการขนส่งต่อจากบิดา เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ตนเองเข้ามาบริหารธุรกิจขนส่งของครอบครัวก็พบปัญหามากมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ ต่อศักยภาพการแข่งขันของบริษัท และต่อความสะดวกสบายต่อบริการที่ลูกค้าจะได้รับ ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสายงานคอมพิวเตอร์ที่ร่ำเรียนมา ตนจึงลุกขึ้นปฏิวัติระบบงานภายในของบริษัทใหม่ทั้งหมด โดยนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก

“ตอนเข้ามารับช่วงต่อจากคุณพ่อ ตอนนั้นระบบงานทุกอย่างเป็นระบบทำงานด้วยมือ (Manual) ทั้งหมด ซึ่งระบบดังกล่าวไม่สามารถรองรับงานที่เรามีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

บริษัทมีบริการรับขนส่งสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ รถจักรยายนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้คอนเทนเนอร์ และสินค้าโชว์ห่วย โดยมีรถบรรทุกทั้งสิ้นมากกว่า 60 คันรวมกันในหลายประเภทอาทิ รถบรรทุก 18 ล้อ 10 ล้อ และ 6 ล้อ ทั้งแบบพ่วงและแบบลาก มีบริการรับและส่งสินค้าแบบรายชิ้นและเหมาคัน ทำให้รายละเอียดของเนื้องานในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอดีตไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงาน และไม่มีการใช้ระบบไอทีใดๆ เข้ามาช่วยจัดการบริหารข้อมูลการบริการของบริษัทเลย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการขนส่งบ่อยครั้ง และเกิดการสูญเสียต้นทุนจากการไม่มีข้อมูลหรือหาข้อมูลไม่พบ เนื่องจากข้อมูลถูกจดด้วยลามือพนักงานและไม่มีการจัดเก็บเข้าระบบ

“เมื่อก่อนปัญหาที่เจอประจำคือ ส่งสินค้าผิด ไม่ก็ส่งไปแล้วของไม่ครบ เพราะรถหนึ่งคันเราขนสินค้าจำนวนมาก และส่งให้กับลูกค้าหลายราย (หากเขาไม่ได้ใช้บริการเหมาคัน) ในใบรายการส่งสินค้าก็เขียนขึ้นใหม่ด้วยรายมือพนักงาน ที่เขียนมาจากใบสั่งบริการขนส่งจากลูกค้าหลายๆ ราย มารวมไว้ในใบเดียว ซึ่งการมาเขียนใหม่ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้ ผิดเรื่องประเภทสินค้าบ้าง จำนวนบ้าง สถานที่ เป็นต้น ซึ่งความผิดพลาดแบบนี้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และจะไม่มาใช้บริการเราอีก”

บริษัทได้ร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยพัฒนาระบบ “Fleet Soft” ขึ้นมาเพื่อใช้บริหารการข้อมูลการให้บริการทั้งหมดของบริษัทโดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้บริการขนส่งทั้งหมดของลูกค้า รวมทั้งข้อมูลสถานที่จัดส่งและเส้นทางขนส่ง รวมถึงข้อมูลรถและคนขับ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้นอกจากจะจัดเก็บและใช้เองภายในบริษัทแล้ว บริษัทยังเปิดให้ลูกค้าของบริษัทเข้ามาดูข้อมูลสถานะของการขนส่งได้แบบทันทีทันใดผ่านหน้าเว็บได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

“เราพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขึ้นมาจากความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาในการทำงานของเราเอง พอทำไป ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากระบบ แต่เราสามารถนำระบบนี้ไปให้ลูกค้าเราได้ใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ซึ่งบริษัทเพิ่งจะเดินระบบเต็มรูปแบบมาได้ราว 3 เดือนปรากฏว่าเราได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 10 ราย นักว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทันตาเห็นอย่างมาก”

สุรชิน บอกว่า รถทุกคันจะติดกล่องดำ หรือ ‘Black Box’ ที่มีทั้งสัญญาณ GPS และ GPRS เพื่อให้บริษัทและลูกค้าที่มาใช้บริการขนส่งสินค้ากับบริษัทสามารถติดตามสถานการณ์เดินรถของรถคันนั้นๆ ได้ตลอดเวลาผ่านหน้าเว็บไซต์ และหากสิ้นค้าส่งถึงมือผู้รับ เจ้าหน้าที่ส่งสินค้าจะให้ผู้รับเซ็นรับของลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทันทีที่ลูกค้าเซ็นรับของ ระบบจะรับรู้โดยอัตโนมัติว่าสินค้าได้ส่งถึงมือลูกค้าเรียบร้อยแล้ว

นอกจากจากนำไอทีมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการขนส่งแล้ว บริษัทยังได้นำระบบไอทีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน ได้แก่ ระบบดูแลรักษารถบรรทุกซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินที่หากเสียหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ต้องส่งซ่อมจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน นั่นเท่ากับโอกาสในการสร้างรายได้จะหายไปด้วย ดังนั้นแทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับรอให้รถเกิดการเสีย

สุรชิน บอกว่า บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลการใช้งานของรถทุกคนเข้าระบบ ว่ารถแต่ละคันวิ่งมาแล้วกี่กิโล เมตรถึงเวลาต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถึงเวลาจ้องซ้อมบำรุงในส่วนใดๆ บ้างก็จะทำทันที ซึ่งการทำเช่นนี้ แม้ว่าจะมีต้นทุนในส่วนค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นราว  60 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ได้รับโอกาสในการที่รถคันนั้นจะไม่ต้องหยุดวิ่งเพื่อเข้าอู่ซ่อม ทำให้รายได้ในส่วนนี้เพิ่มมาราว 90 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วบริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้เพิ่มอีก 30 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายพื้นที่การให้บริการจากเดิมที่จำกัดอยู่แต่เพียงภาคเหนือตอนบนไปครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่มีเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสในการรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสุรชิน บอกว่า ด้วยระบบไอทีที่บริษัทลงทุนไปช่วยเอื้อให้บริการสามารถให้บริการขนส่งแก่ลูกค้าได้ข้ามผู้ให้บริการแต่ลูกค้ายังคงได้รับคุณภาพและรูปแบบบริการเดียวกัน

การลงทุนในระไอทีครั้งนี้ใช้งบมากกว่า 1 ล้านบาทเพื่อยกระดับความสามารถในการให้บริการของเราให้เข่งขันได้ เราทำตรงนี้เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมกับการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งหากเราไม่ทำ ไม่ปรับตัว เราจะอยู่ไม่ได้” สุริชนกล่าวทิ้งท้าย

“ระบบลอจิสติกส์” หัวใจความสำเร็จของ “ออฟฟิศเมท”

ใส่ความเห็น

หากคิดถึง “เครื่องใช้สำนักงาน” เชื่อแน่ว่าหลายคนคงจะคิดถึง “ออฟฟิศเมท” ผู้ขายสินค้าเครื่องใช้สำนักงานที่ส่งตรงถึงบริษัท หรือบ้านคุณด้วยสโลแกนการตลาดการันตีคุณภาพว่า “ส่งถึงคุณในวันถัดไป” (สำหรับ 10 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ) อย่างแน่นอน

แม้ว่าจะมีสินค้าที่อยู่ในคลังกว่า 20,000 รายการจากซัพพลายเออร์กว่า 400 ราย และต้องจัดส่งให้กับฐานลูกค้าที่มีอยู่ราว 100,000 ราย โดยเป็นลูกค้าองค์กร 80,000 รายและลูกค้าทั่วไป 20,000 ราย แต่ “ออฟฟิศเมท” ก็สามารถจัดส่งสินค้าที่มีความหลายหลายตามใบสั่งซื้อที่เข้ามาเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500 ใบสั่งซื้อต่อวัน ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วย และตรงเวลา คุณภาพการบริการเช่นนี้เป็นจุดเด่นที่แม้จะมีผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกันแต่ไม่สามารถชิงตำแหน่งเจ้าตลาดการขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” ไปได้

วรวุฒิ อุ่นใจ กรรมการผู้จัดการ วัยสี่สิบเศษๆ ผู้บุกเบิก “ออฟฟิศเมท” มากับมือจนสามารถนำพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อกลางปีที่ผ่านมา กล่าวว่า หัวใจสำคัญของธุรกิจ ขายเครื่องใช้สำนักงานออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้านของ “ออฟฟิศเมท” คือการบริหารสินค้าคงคลังและบริหารเส้นทางการจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (IT: Information Technology) เป็นตัวช่วยที่สำคัญมาโดยตลอด

บริษัทเริ่มนำระบบไอที และเริ่มพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล และระบบซอฟต์แวร์ด้านลอจิสติกส์ของตัวเองมาตั้งแต่สิบที่แล้ว โดยเริ่มต้นพัฒนาและใช้งานเพียงไม่กี่โมดูล (Module) จากนั้นก็มีการขยายการใช้งานจนครบทุกโมดูลอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบการจัดซื้อ (Procurement System) ระบบการจัดการคลังสินค้า (Stock Management) และระบบกระจายสินค้า (Delivery System)

วรวุฒิ เล่าว่า ด้วยธุรกิจที่มีหน้าร้านบนอินเทอร์เน็ตและบนหน้ากระดาษแคตตาล็อก ทำให้ความท้าทายของธุรกิจ คือ การบริหารคลังสินค้าและการจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าได้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งบริษัทต้องการตัวช่วยในเรื่องของการบริหารสินค้าคงในคลังกับการบริหารระบบจัดส่งสินค้า และไอทีคือคำตอบ

บริษัทตัดสินใจลงมือพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เองตามความต้องการใช้งานเฉพาะของตนเอง ด้วยโปรแกรมมือ 40 คนทุกวันนี้บริษัทมีระบบไอทีเป็นแกนหลักสำคัญในการทำให้กระบวนการทำงานของบริษัทไหลลื่นต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่ ระบบการจัดซื้อ ระบบจะตรวจสอบดูว่าในคลังสินค้าสินค้าใดลดน้อยลงจนถึงขีดที่ต้องสั่งสินค้าเข้ามาสต็อกเพิ่มบ้าง ทั้งนี้บริษัทกำหนดให้คลังสินค้าขนาด 7,200 ตารางเมตรต้องสต็อกสินค้าได้ไม่เกิน 30 วันขาย ทำให้ระบบต้องคำนวณขนาดพื้นที่ ประเภทสินค้า และปริมาณการขายเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เข้ามาเก็บไว้ที่สต็อก

จากนั้นบริษัทก็มีระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบการขายสินค้าของบริษัท นั่นคือ ทุกครั้งที่มีการขายเกิดขึ้น ณ หน้าร้านออนไลน์ หรือบนแคตตาล็อก รายละเอียดคำสั่งซื้อจะเข้ามาตัดสต็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ระบบสินค้าคงคลังของบริษัทมีความเป็นปัจจุบันสูงมาก

นอกจากนี้ บริษัทยังเก็บข้อมูลรายงานการขายเพื่อวิเคราะห์ประเภทสินค้าขายดี หรือสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็ว เพื่อออกแบบการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า เพื่อให้การเคลื่อนขนย้ายสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด อาทิ สินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็วจะอยู่ใกล้กว่าสินค้าที่หมุนเวียนช้า เป็นต้น

ระบบต่อมาคือ ระบบการจัดส่งสินค้า ในส่วนนี้บริษัทมีการติดอุปกรณ์ GPS (Global Positioning System) ไว้ที่รถขนส่งสินค้าทั้ง 65- 70 คันที่ต้องวิ่งส่งสินค้าในแต่ละวัน โดยรถแต่ละคันมีภารกิจต้องส่งสินค้าโดยเฉลี่ยคันละ 35 จุดต่อวัน โดยรถแต่ละคันขนส่งสินค้าที่มีมูลคาโดยเฉลี่ยประมาณ 90,000-100,000 บาทต่อวัน ดังนั้น การติด อุปกรณ์ GPS ในรถทุกคันนอกจากจะช่วยเรื่องของความปลอดภัยของสินค้าแล้วยังช่วยเรื่องการทำ Real Time Tracking เพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่ารถแต่ละคันวิ่งอยู่เส้นทางใดและอยู่  ณ จุดใดบ้าง นอกจากนี้ ระบบยังเก็บข้อมูลเส้นทางที่รถแต่ละคันวิ่งส่งสินค้าให้ลูกค้าตามทุกต่างๆ เพื่อมาคำนวณ วิเคราะห์ และออกแบบเส้นทางขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด คือ เส้นทางที่ใกล้ที่สุด เส้นทางที่สะดวกที่สุด เพื่อลดเวลาและปริมาณน้ำมันในการส่งสินค้าในแต่ละเที่ยวลงได้เป็นอย่างดี

“ระบบไอทีทำให้เราสามารถบริหารการขนส่งสินค้าได้มีประสิทธิภาพ เราสามารถรักษาคุณภาพการจัดส่งสินค้าในเวลาที่เราการันตีกับลูกค้าได้ สามารถส่งสินค้าที่มีความหลากหลายให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างครบถ้วนถูกต้องแม่นยำ และเราสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการ ลดต้นทุนค่าน้ำมันลดลง เดิมก่อนมีระบบไอทีใช้งานเต็มรูปแบบอย่างนี้ เราต้องใช้รถถึง 80 คัน เพื่อรองรับการส่งสินค้า 1,200 คำสั่งซื้อต่อวัน แต่ตอนนี้เราใช้รถแค่ 65-70 คันรองรับปริมาณคำสั่งซื้อ 1,500 คำสั่งซื้อต่อวัน”

ด้วยระบบงานที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ทำให้ผลประอบการของบริษัทตลอด 8 ปีที่ผ่านมาเติบโตต่อเนื่องราว 35-50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยเพิ่งมาเติบโตลดลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมถดถอยและปัญหาทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อธุรกิจบ้าง แต่ก็มีการเติบโตอยู่ราว 15 เปอร์เซ็นต์ โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์

วรวุฒิ กล่าวว่า ปีหน้าบริษัทจะมีการอัพเกรดระบบไอทีครั้งใหญ่ โดยมีเป้าว่าต้องลดต้นทุนของการส่งสินค้าจากเดิมที่ต่ำอยู่แล้ว คือ ราว 2.5-2.8 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ให้ลดลงเหลือไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย

 

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (3)

ใส่ความเห็น

ภาคบ่ายช่วงสอง “พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียนเรื่องสั้น”

พบนักเขียนซีไรท์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์และ์เจ้าของผลงานเรื่องสั้น”เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง”  กับ ประชามคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด

“ถ้าเราเขียนหนังสือทุกวันๆ หน้า ปีหนึ่งเราก็จะได้หนังสือนิยายหนึ่งเล่ม” ประชมคา ลุนาชัย

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ในวัยเด็กไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่ค่อยลงเลยกับพ่อ เลยมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เลยใช้จินตนาการ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ตอนแรกไม่รู้ว่าเราจะเป็นนักเขียนได้ยังไง เพียงแต่อ่าน อ่าน อ่าน แล้วรู้สึกว่ามีโลกที่กว้างไกลรออยู่ข้างหน้า”

เร วัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ได้มาอยู่ใกล้คนเขียนหนังสือ/อ่านหนังสือ ้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น มีเพื่อน”คอวรรณกรรม”คุย ทำให้ค.คิดลึกซึ้งขึ้น”

ประชาคม ลุนาชัย “เมื่อก่อนนักเขียนไทยจะมาจากสายนักนสพ.เยอะมาก นักข่าวส่วนใหญ่จะได้พานพบข้อมูล/วัตถุดิบ แล้วแปลเปลี่ยนมาเป็นงานเขียนได้”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวภาคสนามจะมีข้อมูลมาก ผมไม่ใช่นักข่าวภาคสนาม แต่ผมก้าวลงสนามชีวิต พบปะผู้คน ดวงตาที่ไปมองเห็น คือ ดวงตาของนักเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “ดวงตาของนักเขียน ขาจะอ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเผชิญ/พานพบ การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือแต่จะตีความไปอ่านสังคม/คน”

ประชาคม ลุนาชัย “ถ้าเรามองทุกอย่างแบบเฉยๆ เราจะไม่มีเรื่องสั้น ไม่มีวรรณศิลป์อยู่ในนั้น แต่เราต้องมองให้ลึกลงไปกว่านั้น”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเลยคิดว่าจะเขียนเรื่องสั้นตัวละครคือ พนักงานรปภ. แล้วหา “คู่ขัดแย้ง” ที่จะทำให้เกิด โศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม ซึ่งคือเจ้านาย”

ประชาคม ลุนาชัย “เอาประสบการณ์ชีวิตทำงานที่น่าเบื่อผมมาสร้างเป็นเรื่องที่มีคู่ขัดแย้ง มีค.ขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม/สุขนาฏกรรม”

ประชาคม ลุนาชัย “นักข่าวที่ลงพื้นที่ก็สามารถไล่ต้อนเหตุการณ์มาโลกแคบของต้วเอง มองให้กว้าง คิดให้ลึก ศึกษาให้ละเอียด บีบให้แคบ”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “เหตุการณ์ต้องกระทบใจผมมากๆ ผมถึงจะเขียนได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “ถ้าเราไม่รู้สึกกับเหตุการณื เรื่องราวต่างๆ นั้นมากพอ แม้มีข้อมูลมากมาย ผมก็ต้องทิ้งมัน เขียนมันไม่ได้”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ “นักเขียนทุกคนไม่มีใครไม่เคยไปร้านหนังสือ การอ่านเป็นต้นทุนที่เยอะมากๆ สำหรับผม นอกจากนี้คือการสังเกต”

ประชาคม ลุนาชัย “นิยายเรื่องแรกของผม ผมมีปัญหากับการเขียนมาก เพราะวางประเด็นไว้ไม่ชัดเจน กะจะคิดไปเขียนไป รอบแรกเขียนได้แต่ 12 หน้า”

ประชาคม ลุนาชัย “ตอนเขียน “ฝั่งแสงจันทร์” เขียนรอบแรกได้ 12 น. ทิ้งไปปีนึงกล้บมาเขียนอีกได้ 30 กว่าหน้าทิ้งไว้อีก3-4 ด.กลับมาเขียนได้ 120 น”

ประชาคม ลุนาชัย “ปัญหาในการเขียน ฝั่งแสงจันทร์ ของผม คือ ไม่มีประเด็นที่ชัดเจน ไม่มีความเกี่ยวข้องของเนื้อหาในแต่ละตอน”

ประชาคม ลุนาชัย “ผมเขียน “คนข้ามฝัน” ผมมีตัวละครที่มีเสนห์,เรื่องราวที่เข้มข้นมีพลัง, เนื้อเรื่องแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์”

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกรมวิชาการ

“ฝั่งแสงจันทร์”ผลงาน ของ ประชาคม ลุนาชัย (๒๕๔๑) เป็นนวนิยายรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๑

“เรื่องสั้น มันคือ เกิดไรขึ้น ใครทำให้เกิด เกิดแล้วมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม คนอ่าน อย่างไร” ประชาคม ลุนาชัย

“คน ที่ไม่ใช่นักข่าว สมมติอยากเขียนเรื่องวัดปทุมฯ ก็ไม่รู้จะเขียนยังไง เพราะว่าไม่มีข้อมูล ก็ต้องตั้งพล็อตแล้วไปหาข้อมูล” ประชาคม ลุนาชัย

“การ เขียนเรื่องสั้น บางครั้ง เอาข้อมูลมารับใช้ตัวเรื่อง บางครั้งเอาตัวเรื่องไปรับใช้ข้อมูล ถ้าเรื่องไหนกระทบใจเรา มันจะมีแรงขับภายใน”ประชาคม

ประชาคม ลุนาชัย “หากแรงขับภายในมันสูง เรื่องสั้นนั้นก็จะมีพลังมาก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนหลายคนโหยหาต่อแง่งามของชีวิต นักเขียนมักจะโหยหาในสิ่งที่ตัวเองขาด”

ประชาคม ลุนาชัย ตอนเขียนนิยาย พี่แกจะเริ่มทำ “ประวัติตัวละคร” เพราะ ตัวละครทุกตัวมันมีชีวิต พี่แกเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาช่วยค.เป็นเหตุเป็นผล

ประชาคม ลุนาชัย “ตัวละครที่ดี ต้องมีความเ็้นมนุษย์สูง คือ มีชีวิตรอบด้าน ไม่แบน แต่มีมิติ ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงเดี่ยว”

“ใครจะเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัยในการเขียนสูง” เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

“นักเขียน คือ นักคิด อยู่ที่ไหนก็คิดตลอดเวลา เจอเหตุการณ์์ือะไรก็จะคิด” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “บางครั้งพล็อตเรื่องสั้นเกิดขึ้นระหว่างทาง ก็จดไว้ แล้วค่อยไปหาข้อมูลมาพัฒนาเรื่อง มันเป็นการสะสมพล็อตเรื่องไว้”

“ถ้าพล็อตไหนไม่อยู่กับเรา แปลว่ามันไม่โดนใจเรา ไม่กินใจเรา เราก็ปล่อยมันไป” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนอย่าง “ทมยันตี” เสียภาษีปีละหลายล้าน ใครว่าเป็นนักเขียนไส้แห้งนักเขียนมีทั้งสวรรค์และนรก”

ประชาคม ลุนาชัย “นักเขียนก่อนจะเขียนด้วยมือ ต้องเริ่มเขียนด้วยใจก่อน”

“งานเขียนที่ดีต้องมีความคิดรวบยอด คือก่อนมีบรรทัดแรกเรามีบรรทัดสุดท้ายในใจแล้ว” ประชาคม ลุนาชัย

ประชาคม ลุนาชัย “ฝึกการเขียนเริ่มแรกคือ ฝึกความคุ้นเคยกับงานเขียน คิดอะไรในใจอย่าไปเล่าให้ใครฟัง ให้มาเขียนลงกระดาษ”

ประชาคม “ฝึกให้มีความสุขในการบอกเล่าด้วยการเขียน ไม่ใช่บอกเล่าด้วยปาก การบอกเล่าด้วยปากพลังในการบอกเล่ามันจะน้อยกว่าบอกเล่าด้วยการเขียน”

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะแผงหนังสือ เพื่อรู้ว่านิตยสารไหนบ้างที่มีพื้นที่สำหรับเรื่องสั้น” (1)

ประชาคม ลุนาชัย “อยากเ็ป็นนักเขียน ให้หมั่นแวะร้านหนังสือ เพื่อรู้ว่าสนพงไหนบ้างชอบพิมพ์รวมเล่มเรื่องสั้น” (2)

ประชาคม ลุนาชัย “งานเขียนที่ดี ที่มีคุณค่า จะมีอายุยืนนานกว่าคนเขียนหลายศตวรรษ”

Share

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ (2)

ใส่ความเห็น

กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ  โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ภาคบ่ายพบกับ “ไพลิน รุ้งรัตน์” หรือ พี่ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เราเขียนหนังสือ เราต้องมีความสุข ถ้าเขียนแล้วไม่มีความสุขอย่าทำเลย” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ถ้าอยากเป็นนักเขียน ต้องอ่านให้มากกว่าเดิม อ่านจนเนื้อหาสาระี้ และกลวิธีต่างๆ ของงานเขียนเข้ามาอยู่ในสมองเรา” ไพลิน รุ้งรัตน์

ชมัยภร แสงกระจ่าง หรือ ไพลิน รุ้งรัตน์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๓ ที่จังหวัดจันทบุรี

“เราไม่ได้อ่านแค่หนังสือ แต่เราอ่านชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การอ่านเป็นการจดจำข้อมูลชีวิต” ไพลิน รุ้งรัตน์

“การ ไปทำข่าว การฟังเขาแถลงข่าว การดูทีวี = การอ่าน… การอ่านชีวิตและตีความอย่างไร ขึ้นกับภูมิหลังของเราึ้ (ฐานข้อมูล)” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ทุกคนมีฐานข้อมูลทุกคน อย่ามาบอกว่า โอ๊ยไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียน ไม่เคยอกหัก” ไพลิน รุ้งรัตน์

“แค่ ความอยากเป็นนักเขียนไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเขียน แต่มันต้องมีความอยากเล่าเรื่อง เรื่องที่อยากเล่ามันมีอะไรบ้างอย่างทำให้ี่เราอยากจะเล่า”

“ความ สะเืทืิอนใจ” เป็นตัวจุดให้เกิดการเขียน เมื่อผสมกับ “จินตนาการ” จะทำให้ “ข้อมูลชีวิต” เป็น “สาระ” ใหม่(ที่ไม่ใช่ข่าว): ไพลิน รุ่งรัตน์

กระบวน การเขียน “ความสะเทือนใจ” ก่อให้เกิดความอยากจะเขียน จากนั้นต้องใช้ “จินตนาการ” –> “ฐานข้อมูล” –> “การลงมือเขียน” : ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์กำลังยกตัวอย่างเรื่อง”ลมหายใจที่ปลายจมูก”อ่านแล้วแยกไม่ออกเลย ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งพอพบนักเขียนจึงถามพบว่าเป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความสะเทือนใจอย่างแรง คนเขียนไม่ได้ใช้ฝีมือในการเขียนมาก เพีงแค่ใช้ภาษาเล่าเรื่องธรรมดา

“ถ้า คุณจบเรื่องของคุณไม่ได้ แปลว่าคุณคิดไม่ชัด” ไพลิน รุ้งรัตน์ >>>  เอ..อันนี้เหมือนการเขียนข่าวเลย ถ้าจบไม่ลงแปลว่าประเด็นไม่ชัด

“หากในชีวิตคุณไม่เคยสนใจคนอื่นเลย ก็อยากจะเป็นนักเขียน” ไพลิน รุ้งรัตน์

“เราจะต้องเลือกข้อมูลชีวิตที่เรามี มาใช้ให้เหมาะกับประเภทของงาน งานมันมี สารคดี เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอวีดีโอ พร้อมชี้แนะว่า ด้วยข้อมูลนี้ สามารถเอามาทำเป็น สารคดี หรือ เรื่องสั้นก็ได้

“ต้อง เลือกข้อมูลชีิวิต มาเล่ามาเขียน…ถ้าเรื่องคุณดี ต่อให้คุณเขียนไม่ได้ ก็มาเกลาได้ แต่ถ้าคุณภาษาดี แต่เรื่องไม่ดีแก้ยาก” ไพลิน รุ่งรัตน์

ก่อนอื่นเลย ต้องคิด “แก่นเรื่อง” และต้องวางให้ชัดเจนก่อนเลย จากนั้นมาวาง “โครงเรื่อง” และ “ตัวละคร” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องสั้น จะมีตัวละครน้อย 1-5 ตัว อย่าใช้ตัวละครเยอะ ไม่งั้นจะตามเก็บตัวละครได้ไม่หมด” ไพลิน รุ้งรัตน์

“ตัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง ไม่ใช่หมายถึง คน เท่านั้น” ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิด “แก่นเรื่อง” –> วาง “ตัวละคร” –> วางโครงเรื่อง” (ว่าจะเดินเรื่องยังไง ขัดแย้งกี่ครั้ง): ไพลิน รุ้งรัตน์

กระบวน การเขียนเรื่องสั้น –> คิดแก่นเรื่อง –> วางตัวละคร–> วางโครงเรื่อง(ว่าจะเดินเรื่องยังไงขัดแย้งกี่ครั้ง)–>ลงมือเขียน:ไพลิน รุ้งรัตน์

“เรื่องที่จะเขียนมันต้องมี “ความขัดแย้ง” ไม่งั้นไม่สามารถดินเรื่องต่อได้ ไม่สามารถพัฒนาความขัดแย้งได้” : ไพลิน รุ้งรัตน์

“ความ กระชับ” กับ “วรรณศิลป์” เป็นสิ่งเดียวกัน นักเขียนเรื่องสั้น ต้องเกาะแก่งเรื่องให้แน่น อย่าหลุด อย่าเสียดายข้อมูล: ไพลิน รุ้งรัตน์

การเขียนเรื่องสั้น นอกจาก “แก่นเรื่อง”,”ตัวละคร”,”โครงเรื่อง” แล้ว สิ่งที่อย่าลืม คือ “บทสนมนา” กับ “ฉาก”: ไพลิน รุ้งรัตน์

“การตั้งชื่อเรื่อง” เป็นตัวช่วยหนึ่งในการช่วยให้เราไม่หลงประเด็นที่จะเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

“การเปิดเรื่อง” กับ “การปิดเรื่อง” เป็นอีกสองสิ่งที่สำคัญในการเขียน :ไพลิน รุ้งรัตน์

การเปิดเรื่อง อย่าเปิดเรื่องแรง ถ้าเิปิดทีเดียวจบ คนอ่านจะไม่ตามอ่านอีก: ไพลิน รุ้งรัตน์

แต่มีบางกรณีที่เปิดเรื่องด้วยตอนจบแต่คนอ่านยังอยากตามอ่านอยู่: ไพลิน รุ้งรัตน์

หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องสั้น คือ จะต้องมีโครงสร้าง(ของเรื่อง) เดียว : ไพลิน รุ้งรัตน์

นวนิยายขนาดสั้น จะีโครงเรื่องย่อย: ไพลิน รุ้งรัตน์

เรื่อง สั้นขนาดยาวกับนวนิยายขนาดสั้น ที่จำนวน30 หน้าเท่ากัน ค.ต่างคือ ชุดของโครงเรื่อง เรื่องสั้นมีโครงเรื่องชุดเดียวเท่านั้น:ไพลิน รุ้งรัตน์

พลังของเรื่องสั้น กับนวนิยาย มันต่างกัน: ไพลิน รุ้งรัตน์

พลัง ของเรื่องสั้น (ที่ดี) จะทำให้คนอ่านจำเรื่องนั้นไปตลอด อ่านจบแล้วเหมือนลูกศรปักกลางอก…แต่นวนิยายมันจะค่อยๆ ซึมเข้ามา: ไพลิน รุ้งรัตน์

การ อ่านเรื่องสั้น อ่านแล้วทิ้งช่วงมาอ่านต่อมันไม่ได้ มันต้องอ่านให้จบเรื่องรวดเดียว:ไพลิน รุ้งรัตน์>ใครเคยอ่านเรื่องสั้นไม่รวดเดียวจบบ้างคะ?

เรื่อง สั้นที่ดีเรื่องต้อง”กระทบใจ”,”สะเทือนใจ”ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่อง เศร้าเสมอไปเรื่องสิ้นที่ดีแบบมีค.สุขก็มีแต่เรื่องเศร้ามันจะแรงกว่า

จบค่ะ

ขอแบ่งปันข้อมูลจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ค่ะ

ใส่ความเห็น

ภาพเช้า ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน” โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์อาวุโส

และ สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น” โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม

“”นัก เขียน” ในความหายของคนส่วนใหญ๋ แวบแรก คือ การเขียนนวนิยาย แต่ในความเป็นจริงการเขียนมีหลายรูปแบบ” พี่ประสงค์ นายกฯ สมาคมนักข่าว

ราย นามวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ”ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4 ได้แก่ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, รุ่งมณี เมฆโสภณ, นิรันศักดิ์ บุญจันทร์(1)ชมัย ภร แสงกระจ่าง, ประชาคม ลุนาชัย, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์, วัชระ สัจจะสารสิน, อุทิศ เหมะมูล และอริสรา ประดิษฐ์สุวรรณ(ผู้เข้าอบรมรุ่นที่2)(2)

หม่อม เจ้าอากาศ ดำเกิง เป็นผู้จุดประกายให้กับคนอ่านให้เป็นนักข่าว เป็นคนหนึ่ึ่งที่เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ รวมถึง ศรีบูรพา ด้วย

ทำไมนักเขียนจึงเป็นนักนสพ.ได้ และทำไมนักนสพ.เป็นนักข่าวได้ เพราะสมัยก่อนเขาเห็นว่าสังคมไม่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในสังคมด้วยกัน

คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ..ซึ่งนักข่าวมีประสบการณ์ตรงนี้อยู่ต็มๆ นักเขียนโดยเนื้อแท้อาจจะไม่ได้เป็นนักข่าว อาจจะไม่มีข้อมูลมากเท่านักข่าว

แต่สิ่งที่นักเขียนมีมากกว่านักข่าว คือ “จินตนาการ”

“เริ่มจากการเขียนข่าวให้ถูกต้องตรงข้อเท็จจริง ย่อความให้ได้ เป็นจุดเิ่่ริ่ิมต้นของการเป็นนักเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

“พรสวรรค์เราทุกคนมี แต่อยู่ที่ว่าจะหยิับมันอกมาใช้ได้อย่างไง” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์ บอกว่า “จินตนาการ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์” คือ 3 ปัจจัยหลักของการเป็นนักเขียน

“เมื่อคุณอยากเป็นนักเขียน ให้คุณลงมือเขียน” พี่เรืองชัย ทรัพย์นิรัดร์

sesion ต่อไป คือ พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้เขียน “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด” และ พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บก.จุดประกายวรรณกรรม

พี่ นิรันศักดิ์ บุญจันทร์”ยุคนี้ถ้าคุณอยากจะเขียนหนังสือคุณได้กระโดจนเข้าไปครึ่งตัวแล้ว การเป็นนักข่าวได้เปรียบมากในเรื่องของการมีข้อมูลในมือ”

พี่ นิรันศักดิ์”ผมแปลกใจมากว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมออกมาเลย สมัยก่อนนักเขียนนักข่าวคือตัวตนคนเดียวกัน”

พี่ นิรันศักดิ์ “การเป็นนักข่าวได้ความจริง นักเขียนคือความมีวรรณศิลป์ อาิาทิ ภาษาข่าว คือ “เขากล่าวว่า”,นักเขียน “เขากระซิบบอก” “เขาเอ่ยว่า”

พี่ รุ่งมณี โสภณ บอกว่า “ความร่ำรวยทางภาษา เกิดจากการอ่าน คือการสะสมเชิงปริมาณ สู่คุณภาพ จะเป็นนักเขียนที่ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้อ่านหนังสือ”

“การ อ่านทำให้องค์ความรู้กว้างกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีกว่าคนอื่น การไม่อ่านนอกจะไเป็นนักเขียนไม่ได้แล้วยังเป็นนักข่าวไม่ได้ด้วย”

“การ เป็นนักเขียนต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วย เพราะบางทีนักเขียนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรอกแต่ใช้วิธีสังเกตและใส่ จินตนาการ”พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เป็นนักเขียนต้องเรียนรู้รูปแบบของงานเขียนด้วย โดยพื้นฐานมันจะมีรูปแบบมันอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบที่ตายตัว” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“รูป แบบงานเขียน อาทิ รูปแบบงานเขียนเรื่องสั้น มีพล็อต มีวิธีการเดินเรื่อง มีจุดไคลแม็กซ์ มีจุดหักมุม เป็นต้น” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“โดยความเชื่อของผม นักข่าว คือ นักเขียน คนหนึ่ง เพราะเขามีเรื่องอยู่ เรื่องที่สามารถเอามาเขียนได้” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การเลือกอ่านหนังสือที่ดี จะเป็นแรงส่งสู่การเป็นนักเขียนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“งานนักข่าวเป็นงานของข้อเท็จจริง มันเพ้อเจ้อไม่ได้ เลยอยากมากอบรมเป็นนักเขียน” นี่คือเหตุผลของนักข่าวหลายคนที่บอกกับวิทยากร

“การ เป็นนักเขียน คนที่รักงานเขียน เหมือนคนที่ทำงานไม่รู้จักเสร็จสิ้น เขียนแบบไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย/การเป็นนักเขียน ต้อง”ชอบเขียน” พี่รุ่งมณี

“การชอบเล่า การชอบฝัน ไม่ทำให้เราเป็นนักเขียนได้ การเป็นนักเขียน ต้องชอบเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม” พี่รุ่งมณี

พี่รุ่งมณี กำลังยกตัวอย่างพล็อตเรื่อง CSI ว่าเรื่องแค่ 45 นาที วางโครงเรื่องซับซ้อนไปมา …(เรื่องนี้โดยส่วนตัวชอบดูมาก)

พี่รุ่งมณี กำลังยกตย. เรื่องสั้นของคุณ มนู จรรยงค์ ลูกชายคุณมนัส จรรยงค์ ที่ชอบเขียนเรื่องของ”คนเล็กๆ”

“การเป็นนักเขียนต้องมีตาใน ที่เก็บรายละเอียดของคนเล็กๆ บางทีการเป็นนักข่าว ตาเรามักจะไปจับจ้องแต่คนใหญ่ๆ” พี่รุ่งมณี

พี่นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ “คุณเล่าเรื่องเป็นไหม เล่าโดยการเขียน ไม่ใช่การเล่าปากเปล่า”

“ยุคนี้ถ้าคุณเขียนนิยายได้ประสบความสำเร็จสักเล่มหนึ่ง คุณจะลืมอาชีพนักข่าวไปเลย” พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

พี่นิรันศักดิ์ บอกว่า ให้ลองใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง … แต่ปัญหาของนักข่าวคือเรื่องเวลา

อย่า บอกว่าไม่มีเวลาถ้าต้องการทำความฝันให้เป็นจริงเราต้องจัดการกับเวลาของตัว เองต้องกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเองต้องทำงานหนักด้วยตัวเอง:รุ่งมณี

การเขียนตามเว็บ ตามบล็อก ส่วนหนึ่งใช่ “งานเขียน” แต่อีกหลายส่วนเป็นแค่ “การแสดงความคิดเห็น”… พี่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

“การ เขียนตามเว็บ ตามบล็อก เป็นงานวรรณกรรมที่ดีรึยัง…คำตอบคือ งานวรรณกรรมที่ดีต้องผ่านการพิสูจน์และยอมรับจากคนอ่านเสียก่อน” พี่นิรันศักดิ์

“ไม่ว่านักข่าวหรือ นักเขียน ชัยชนะของการเขียน คือ ข้อมูล” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

“นักข่าวข้อมูลเยอะ เพราะฉะนั้นต้องฝึกให้จัดการกับข้อมูลให้เป็น” พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ

จบภาคเช้าค่ะ

Older Entries